ภูมิหลัง ของ ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560

ฤดูของประเทศไทยแบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน (กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม), ฤดูฝน (กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม) และฤดูหนาว (กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์) ซึ่งฤดูหนาวเริ่มขึ้นเมื่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าปกคลุมประเทศไทย โดยเริ่มต้นอากาศจะแปรปรวน ไม่แน่นอน อาจมีอากาศเย็น หรือฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะภาคกลางตอนล่าง[5]

มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีแหล่งกำเนิดจะบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและจีน ซึ่งจะพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งเข้ามาในประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าปลอดโปร่ง อากาศจะหนาวเย็นและแห้งโดยทั่วไปในประเทศไทยตอนบน แต่จะทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกเนื่องจากนำเอาความชื้นจากอ่าวไทยเข้าไปในพื้นที่[6]

ในภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ อุณหภูมิจะแตกต่างกันมากในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว ซึ่งในฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำสุดในตอนเช้าจะอยู่เกณฑ์หนาวถึงหนาวจัดในเดือนธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งอุณหภูมิอาจลดลงได้จนต่ำกว่าจุดเยือกแข็งในพื้นที่ที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหรือยอดเขาสูงของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลมพื้นผิวโดยมากเป็นลมฝ่ายเหนือและลมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงอย่างชัดเจน[6]

อุณหภูมิต่ำที่สุดในประเทศไทยที่เคยวัดได้ในระหว่างปี พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2558 คือ -1.4 องศาเซลเซียส ที่สถานีอากาศเกษตร (สกษ.) สกลนคร จังหวัดสกลนคร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2517[6]

ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดของภาคอื่น ๆ มีดังนี้

ส่วนกรุงเทพมหานครวัดได้ 9.9 องศาเซลเซียส ที่สถานีตรวจอากาศเฉลิมพระเกียรติ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2498[6][7][8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560 http://www.manager.co.th/ http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsI... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-... http://tmd.go.th/programs//uploads/announces/2016-...